วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายของภาษาอังกฤษ

          เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์เมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริการ แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียนพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557


ความสำคัญของภาษาอังกฤษ 
ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แค้ท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แค่ท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สาเหตุที่เด็กไทยอ่อนภาษาอังกฤษ
          1) เด็กไทยรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษน้อย  เป็นสาเหตุที่ส่งผลร้ายแรงที่สุด ตราบใดที่ไม่รู้คำศัพท์ก็อย่าหวังว่าจะพูดได้ เพราะในเมื่อคลังคำศัพท์เรามีน้อยเหลือเกินเราก็ไม่สามารถจะคิดประโยคที่ใช้ในการสื่อสารได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะการพูดหรือเขียน ฟังกับอ่านก็ไม่ได้ด้วย

            2) เด็กไทยไม่ค่อยได้ใช้ภาษาอังกฤษ แม้ว่าโรงเรียนจะจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอน แต่อาจจะมีเวลาพูดคุยกับอาจารย์ชาวต่างชาติจริงๆ ก็แค่อาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อไม่มีช่องทาง เราก็จะไม่ใช้กันเลย 
           3) เด็กไทยไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ ความอายทำให้เราสูญเสียโอกาสหลายๆ อย่างในชีวิตโรงเรียนจะให้ออกไปสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ เป็นโอกาสอันดีของเราที่จะได้คุยกับเจ้าของภาษา 

          4) ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาถิ่นของตนเอง เป็นเรื่องที่ดีที่ชาติไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่มันก็มีจุดอ่อน ทำให้เราไม่สันทัดในภาษาอังกฤษ และเรายังมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติอีกด้วย พูด ฟัง อ่าน เขียน เป็นภาษาไทย แต่ละวันเลยแทบจะไม่ได้ใช้ภาษาอื่นเลย  

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ให้ได้ผลเร็ว

1.  ฝึกฟังจากเทป บทสนทนาภาษาอังกฤษ ซึ่งบทสนทนานั้นจะต้องพูดด้วยความเร็วปกติที่ชาวต่างชาติพูด   อย่าฝึกฟังจากเทปที่พูดช้ากว่าการพูดปกติของเขา เนื่องจากจะทำให้เราเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษ แบบที่พูดช้าๆ และเมื่อเจอชาวต่างชาติที่พูดด้วยอัตราความเร็วปกติ เราก็ไม่เข้าใจเช่นเดิม
2.  การฝึกฟังครั้งแรกๆ ควรเริ่มฟัง ครั้งละ  5 - 10 ประโยค (อย่าฟังประโยคเยอะเกินไปจนไม่สามารถจะจำประโยคเหล่านั้นได้)  
3.  ขณะที่ฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ต้องมี Script เสมอ 
4.  ในการฝึกฟังแต่ละครั้ง ต้องฟังให้ได้อย่างน้อย 4 รอบ คือ -  รอบที่ 1 ฟังพร้อม Script และหากเห็นว่าคำใดที่เราเคยออกเสียงไม่เหมือนเขา หรือเราฟังไม่รู้เรื่องแม้จะมี Script  ให้หยุดเทป แล้วจดลงในScript ว่า เสียงที่เราได้ยินนั้นคืออะไร  รอบที่ 2 และ 3 ออกเสียงตาม  รอบที่ 4, 5, 6, ..... ลองฟังแบบหลับตา โดยไม่มี Script 
5.  ช่วงแรก ขอให้ฝึกฟังประโยคเดิมๆ ด้วยวิธีข้างต้น สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ฝึกทุกวันได้ยิ่งดี) แล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนประโยคให้มากขึ้นเป็น 15-20 ประโยค ต่อการฝึกฟังแต่ละครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ

1.  ความมั่นใจในการพูด    คุณจะเห็นได้ชัดว่าแม้แต่เด็กเล็กยังต้องการความมั่นใจในการเริ่มต้นพูด  เขาจะฟังคุณแม่ที่คอยกระตุ้นให้เขาพูด  แต่ยังไม่ยอมพูดจนกว่าเขาจะมั่นใจว่า  สิ่งที่คุณแม่สอนนั้น เขาเข้าใจได้ถูกต้อง เช่น ชี้คุณพ่อได้ถูกต้อง เมื่อคุณแม่ถามว่าคุณพ่ออยู่ไหน เป็นการทดสอบก่อนว่าสิ่งที่ได้ฟังมานั้นเข้าใจถูกหรือไม่ หากได้รับคำชมจากคุณแม่ หลังจากนั้นไม่นานคุณจะพบว่าเขาจะเริ่มเรียก พ่อตามสำเนียงของเขาได้  นั่นคือ ประสบการณ์ของเขาสอนให้เขารู้ว่า หากเขามีความมั่นใจแล้วและพูดออกมาได้ถูกต้อง เขาจะได้รับคำชม ในทางกลับกัน  หากเขาพูดผิด และผู้ใหญ่หัวเราะด้วยความเอ็นดู แต่เมื่อเด็กรู้สึกอายแล้ว สมองก็จะสั่งไม่ให้เขาพูด เขาก็จะไม่ยอมพูดออกมาจนกว่าจะมีความมั่นใจอีกครั้ง ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจิตใต้สำนึกของเราจึงสั่งให้เราเดินหนีฝรั่ง เมื่อเราไม่มั่นใจ เราจึงควรสร้างความมั่นใจด้วยการฝึกฝนเองหรือให้ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน หรือมีจิตวิทยาในการสอน มาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้

2.  ความรู้ในสิ่งที่เราจะพูด  สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  หากเราสามารถพูดได้ แต่ไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขากำลังคุยกันอยู่  เราก็ใบ้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรอ่านหนังสือที่เป็นความรู้รอบตัว หรือหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษเรา ก็ควรจะหาข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งนั้น ที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเตรียมดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง หรือหาครูภาษาอังกฤษมาช่วยสอนให้  เป็นการเตรียมการเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่เราอาจจะต้องพูด

3.  การใช้คำที่เหมาะสม  หากคุณเคยพูดภาษาอังกฤษเล่นๆกับเพื่อน พูดถูกบ้างผิดบ้าง  เพื่อนก็เข้าใจคุณ  และคุณก็ไม่ได้ศึกษาว่าคำภาษาอังกฤษคำนี้เหมาะสมหรือไม่  หาก จะใช้กับแขกต่างประเทศหรือใช้ในที่ทำงาน  ถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแบบเป็นทางการ  คุณก็ใบ้ได้อีกเช่นกันว่าเราควรจะพูดประโยคนี้ดีหรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่า เป็นภาษาที่เขาใช้ในสังคมหรือไม่



 

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557


วิธีเรียนอังกฤษให้เก่งด้วยตนเอง

          1)  ตามอ่านอะไรที่เราสนใจ ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ  ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบซิบดาราฝรั่ง ฯลฯ

          2) ฟังวิทยุให้ชิน การฟังวิทยุจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูด เป็นการฝึกหูในชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย

          3) ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย
          4) แปะกระดาษโน้ตบนสิ่งของต่างๆ การแปะชื่อสิ่งของต่างๆที่เราใช้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้ชีวิตได้คุ้นเคยกับคำเหล่านี้มากขึ้น และเป็นการฝึกอ่านฝึกความเข้าใจไปในตัวด้วย
          5) ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ การดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง
          6) เล่นเกมที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆ สมัยนี้มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้
          7) ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น เป็นการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่น เปลี่ยนคำว่ามือถือ เป็น Smart Phone เป็นต้น
          8) ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางไปเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน ให้เป็นภาษาอังกฤษ
          9) เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ ความชอบทำให้เราสามารถทำอย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อ เช่น ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราก็จะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัวเลย

          10) ลงทุนซื้อ Dictionary ดีๆสักเล่ม ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและพัฒนาภาษาไปได้ดีกว่า  

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจําวัน

การทักทาย (Greetings)
การทักทาย คำทักทายที่ควรทราบมีดังนี้Good morning สวัสดี (เช้าถึงเที่ยงวัน)Good afternoon สวัสดี (หลังเที่ยงวันถึงช่วงเย็น)Good evening สวัสดี (ช่วงเย็นถึงกลางคืน)Good day สวัสดี (ตลอดวัน)Hello/Hi สวัสดี (เพื่อนหรือคนรู้จักทั่วไป)

การสอบถามทุกข์-สุข สำนวนที่ใช้สอบถามว่าสบายดีหรือ ได้แก่How are you? (เน้นเรื่องสุขภาพ)How are you going? (อังกฤษ) How are you doing? (อเมริกัน)How’s it going? (เน้นความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน)How have you been? (ในกรณีนาน ๆ เจอกันที)How’s your life?How’s everything?How are things (with you)?

การตอบ ตัวอย่างการตอบ ได้แก่(I'm) fine, thanks. And you? สบายดี ขอบคุณ แล้วคุณล่ะGood. สบายดีVery well สบายดีมากI'm O.K. ก็ดีSo so. ก็งั้น ๆNot (too) bad ก็ไม่เลวGreat! เยี่ยม, วิเศษ

การอำลา (Leave Taking)
การอำลา ตัวอย่างคำกล่าวลา ได้แก่See you again….. พบกันใหม่ ….. (เป็นทางการ) เช่น(เช่น See you again tomorrow/next time/next week/next month/next year/on Monday. เป็นต้น)See you later/soon/then. เดี๋ยวเจอกันนะHave a nice day/time. โชคดีนะ/วันนี้ขอให้มีความสุขนะHave a nice holiday. ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะHave a nice weekend. ขอให้มีความสุขในวันสุดสัปดาห์นะHave a good time. ขอให้มีความสุขนะ/ขอให้เที่ยวให้สนุกนะHave a good/nice trip ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะTake care (of yourself) ดูแลตัวเองด้วย/รกษาเนื้อรักษาตัวด้วย ัSweet dreams / Sleep well ฝันดีนะ/นอนหลับให้สบายนะGood luck./Be successful. โชคดี/ขอให้ประสบความสำเร็จGood night. ราตรีสวัสดิ์/ไปแล้วนะ (ใช้ลาตอนกลางคืน)Goodbye/Bye ไปแล้วนะ/ไปล่ะ

การขอบคุณ (Thanking)
การขอบคุณ สำนวนที่ใช้ในการขอบคุณ ได้แก่Thanks you (very much). ขอบคุณ (มาก)Thanks (a lot). ขอบใจ (มาก)Thank you for …………….. ขอบคุณสำหรับ เช่นThank you for your present. ขอบคุณสำหรับของขวัญThank you for everything. ขอบคุณสำหรับทุกอย่างThank you for your help. ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือของคุณI really appreciate that. ผมรู้สึกประทับใจจริง ๆ

การตอบรับคำขอบคุณYou’re welcome. ไม่เป็นไรDon't mention it. ไม่เป็นไรNot at all. ไม่เป็นไรIt's nothing. ไม่เป็นไรThat's all right. / That's O.K. ไม่เป็นไร(It's) a pleasure. ด้วยความยินดีMy pleasure./With pleasure. ด้วยความยินดีDon’t worry (about it). อย่ากังวลไปเลยNo problem. ไม่มีปัญหา

การขอโทษ (Apologizing)
การขอโทษ สำนวนที่ใช้ในการขอโทษ ได้แก่I’m sorry. ผมขอโทษI’m sorry. I’m late. ขอโทษที่มาช้าI’m sorry I troubled you. ขอโทษที่ทำให้ต้องลำบากExcuse me, please. ขอโทษครับ/ค่ะExcuse me for interrupting. ขอโทษที่รบกวนExcuse me for a moment. ขอโทษขอเวลาสักครู่

การให้อภัย สำนวนที่ใช้ในการตอบรับคำขอโทษThat’s all right. ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอโทษ)Don’t worry (about it). อย่ากังวลไปเลยNo problem. ไม่มีปัญหาThat's O.K. หรือ I'm O.K. ไม่เป็นไร หรือ ผมไม่เป็นไร

การถามเวลา (Asking for Time)
การถามExcuse me. What time is it? ขอโทษครับ กี่โมงแล้วครับCould you tell me the time, please? ขอโทษครับกี่โมงแล้วDo you have a time? กี่โมงแล้ว (คุณมีนาฬิกาไหม)

การตอบ(It's) seven o'clock. 7 นาฬิกาSix twenty/Twenty past six 6.20Five to four/Three fifty-five 3.55A quarter past eight/Eight fifteen 8.15Half past ten/Ten thirty 10.30A quarter to ten/Nine forty-five 9.45Noon เที่ยงวันMidnight เที่ยงคืนIn the morning ตอนเช้าIn the afternoon ตอนบ่ายIn the evening ตอนเย็นAt night ตอนกลางคืน 



วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของภาษาอังกฤษ

1. ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าเดิมการเรียนรู้ภาษาใหม่ ทำให้สมองเราได้ทำงานและแก้ไขปัญหา ทั้งการเรียนรู้จดจำ การแปลความหมาย รูปแบบประโยคที่ต่างกัน ทำให้นักเรียนที่รู้หลายภาษามีโอกาสทำคะแนนในวิชาอื่นๆดีกว่านักเรียนที่รู้เพียงภาษาเดียวด้วย
2. ช่วยในการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันคนที่สามารถเรียนรู้หลายภาษา จะมีความสามารถในการทำงานได้พร้อมกัน รวมถึงสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัวได้อย่างดี เป็นผลจากการฝึกเรียนรู้การพูด ฟัง เขียน ในรูปแบบที่ต่างกันนั่นเอง ผลวิจัยยังพบว่าคนที่รู้หลายภาษา ขับรถได้ผิดพลาดน้อยกว่าด้วยล่ะ
3. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนที่เรียนรู้ภาษาเดียวจะเป็นอัลไซเมอร์เฉลี่ยที่อายุ 71.4 ปี แต่คนที่มีความรู้หลายภาษา จะสามารถยืดความทรงจำดีๆไปได้ถึง 75.5 ปี
4. เพิ่มความทรงจำการศึกษาพบว่าการใช้งานสมองเรียนภาษาใหม่ จะทำให้เกิดการจดจำบ่อยๆ สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บความทรงจำให้เราได้มากขึ้น เช่นเดียวกับฝึกวิดพื้นบ่อยๆแล้วแขน หรือร่างกายช่วงบนจะแข็งแรงขึ้นนั่นเอง
5. เสริมความสามารถ ในการรับรู้แยกแยะข้อมูลมหาวิทยาลัยในสเปน พบว่าการเรียนรู้หลายภาษา ช่วยให้เรามีความสามารถในการแยกแยะข้อมูล กลั่นกรองถึงความถูกต้อง รวมถึงคนที่มีความสามารถในภาษาต่างๆ จะมีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาผิดพลาดน้อยกว่าคนที่ใช้ภาษาเดียว
6. เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจมหาวิทยาลัยชิคาโก้ ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการรับรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้ดีขึ้น ส่งผลถึงความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เลือกทำสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี
7. ใช้ภาษาหลักได้เก่งกว่าเดิมการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ทำให้เราจับรูปแบบภาษาหลายๆภาษาทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่มีรากมาจากการพูดเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงส่งผลทางอ้อมให้สามารถใช้ภาษาหลักของเราได้ดีกว่าเดิม เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนอีกอย่างหนึ่ง